สวัสดีครับ ยินดีต้องรับสู่ ร้านรับซื้อเหล้า รีเจนซี่ ที่ใหญ่ที่สุด เรามีทีมบริการทุกจังหวัด เพียงแค่คุณถ่ายรูปส่งมาให้เราตีราคาที่ line @jipatashop หรือโทรหาเรา 091-1206831 เราพร้อมตีราคา สินค้าของคุณให้ในเวลาอันรวดเร็ว
รับซื้อเหล้ารีเจนซี่ , รับซื้อเหล้ารีเจนซี่แสตมป์ไทย ,รับซื้อเหล้า regency , รับซื้อเหล้า regency แสตมป์ไทย
สวัสดี! เราเป็นเว็บที่รับซื้อเหล้ารีเจนซี่ รับซื้อเหล้ารีเจนซี่แสตมป์ไทยที่ใหญ่ที่สุด ไม่ว่าคุณจะมีแค่ 1 กล่องหรือ พันกล่อง เรารับซื้อได้ทั้งหมด เพียงแค่ line : @jipatashop มาหาเรา ส่งข้อมูลมาตีราคา
…หรือถ้าคุณไม่อยากขายทิ้ง
เรายังมีบริการรับจำนำ เหล้ารีเจนซี่ หรือ ขายฝากเหล้ารีเจนซี่ โดยมีค่าธรรมเนียมที่ไม่แพง ถูกที่สุด มีทีมบริการทั่วประเทศ
เมื่อสี่สิบกว่าปีที่แล้ว “ณรงค์ โชคชัยณรงค์” คงถูกหาว่า “บ้า” ที่คิดจะสร้างบรั่นดีไทย “รีเจนซี่” ขึ้นมาในยุทธจักรน้ำเมานี้ เพราะกระบวนการผลิตบรั่นดีเป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์ที่ถ่ายทอดกันหลายชั่วคนต้องพิถีพิถันตั้งแต่คัดเลือกพันธุ์องุ่นชั้นดีที่ปลูก เก็บเกี่ยวในภูมิอากาศเหมาะสม และผ่านการกลั่นและบ่มรสชาติให้นุ่มนวล
เปรียบประดุจน้ำทิพย์ที่สวรรค์บรรจงสร้าง กว่าจะได้แต่ละหยาดหยดต้องใช้เวลานานไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี และทุกปีการระเหยระหว่างเก็บบ่มจะเกิดขึ้นเป็นการสูญเสียที่แพงมากแต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งสวนทางกับธุรกิจที่มีหลักการแสวงหากำไรสูงสุดในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อให้บรรลุจุดคุ้มทุนแต่เขาไม่เคยย่อท้อ
โชคดีเป็นของเขาเมื่อได้รู้จักกับผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งซึ่งเคยมีประสบการณ์ในบริษัทบรั่นดีเก่าแก่ของฝรั่งเศส เมื่อปลดเกษียณแล้วก็คิดจะตั้งโรงงานทำบรั่นดีในเวียดนาม แต่ภัยสงครามเวียดนามที่คุกรุ่นอยู่ ทำให้แผนการของเขาต้องล้มเลิกไป และเขาก็ได้ชายผู้รู้นี้มาวางรากฐานการผลิตบรั่นดีในโรงงาน
การผลิตบรั่นดีรีเจนซี่เริ่มต้นแรกเป็นเหล้าองุ่นอันเกิดจากการผสมผสานขององุ่น “พันธุ์ไวท์มะละกา” ซึ่งมีสีเขียวอมเหลือง นิยมปลูกกันมากในแถบลุ่มแม่น้ำแม่กลองในเขตตั้งแต่จังหวัดสมุทรสงคราม สามพราน นครปฐม และราชบุรี เหล้าองุ่นที่ได้จะมีดีกรี 10-12 เท่านั้น หลังจากผ่านกระบวนการกลั่นทีละหยดในห้องกลั่นซึ่งประกันอัคคีภัยไว้ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ความรุนแรงของบรั่นดีจะเพิ่มสูงถึง 40 ดีกรี ดังนั้นบรั่นดีที่กลั่นเพียงครั้งเดียวจะมีความรุนแรงและมีสรรพคุณเป็นยา จึงต้องนำไปเก็บบ่มรสชาติ 2-3 ปี ให้รสชาตินุ่มนวลลงในถังไม้โอ๊กลีมูซีน ซึ่งเป็นไม้ชนิดเดียวที่ให้กลิ่นหอมและสีทองของบรั่นดี
เหล้ารีเจนซี่เขาใช้องุ่นเป็นส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้กากน้ำตาลหรือที่เรียกว่า “โมลาส” ขณะที่เหล้ายี่ห้ออื่นใช้เพราะต้นทุนถูกเพียงตันละ 400-500 บาท แต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเทศไทยไม่บังคับ รัฐบาลสนใจจะเอาแต่ภาษีมากๆ เท่านั้น อย่างแม่โขงกว่าจะเข้าไปขายในอเมริกาต้องใช้เวลาตั้งนาน ต้องมีการเปลี่ยนสูตรก่อน
ณรงค์ โชคชัยณรงค์ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2467 มารดาชื่อ “แต้สี” บิดาชื่อ “จินซุ้ย” ถ้าไม่มีเขา “รีเจนซี่บรั่นดี” ก็คงไม่ได้เกิดขึ้นมาในวงการน้ำเมานี้ ชีวิตของณรงค์เริ่มต้นอย่างลำบากยากเข็ญในชีวิตวัยเด็กที่เดินทางจากแผ่นดินจีนสู่ใต้ร่มเงาของแผ่นดินไทย ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
ขณะนั้นณรงค์ที่ยังคงใช้ “แซ่เฮ้ง” เพิ่งจะมีอายุรุ่นๆเพียง 13-14 ปี เริ่มต้นชีวิตในเมืองไทยด้วยการทำงานเรียนรู้เป็นช่างเจียระไนเพชรพลอยในร้านค้าเพชรย่านตรอกหัวเม็ด จักรวรรดิ ความมานะพยายามที่มีแววเฉลียวฉลาด ได้ส่งประกายดุจเพชรน้ำเอกที่ทำให้ชีวิตของหนุ่มชาวจีนได้พบรักกับบุตรสาวเศรษฐีเจ้าของร้านเพชร “แซ่เบ๊”
พ่อตาอย่าง “ปรีชา อัศวปรีชา” ได้ยินยอมยก “สุทธิวรรณ อัศวปรีชา” ลูกสาวหัวแก้วหัวแหวนให้แก่ณรงค์ และปรีชาก็ไม่ผิดหวังในหนุ่มคนนี้ เพราะในเวลาต่อมาณรงค์ได้พิสูจน์ถึงสายเลือดของนักสู้ชีวิตที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา จนกระทั่งตัวเองประสบความสำเร็จ
เขาได้กลายเป็นตำนานของ “แจ๊คผู้หาญฆ่ายักษ์แม่โขง” ในฐานะผู้เข้ามาใหม่ด้วยบรั่นดีรีเจนซี่ หลังจากสะสมทุนรอนมหาศาลจากกิจการค้าเพชรและรับเหมาก่อสร้างตึกแถวที่สามย่านอันเป็นที่ทรัพย์สินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ญาติคุณณรงค์ชอบสะสมบรั่นดีคอนญัคมาก และคุณณรงค์ก็ชอบดื่มบรั่นดี ตอนหลังเขาไม่ดื่มมากเพราะว่าระวังเรื่องสุขภาพตอนที่เข้ามาในวงการนั้น คุณณรงค์ชอบและหลงเสน่ห์บรั่นดีและอันไหนที่จิบแล้วไม่ถูกใจก็ติ คนเขาก็ว่าติมากก็ทำเองสิ…ด้วยคำท้าทายนี้เองเขาจึงได้ตัดสินใจทุ่มเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้จากการค้าเพชรและรับเหมาก่อสร้างไปลงทุน
ณรงค์ก้าวเข้ามาใน “ยุทธจักรน้ำเมา” ที่เป็นธุรกิจการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 โดยรู้อยู่เต็มอกว่าโอกาสเกิดนั้นต้องเจ็บปวดและทรมาน ไม่มีใครยอมรับรีเจนซี่ในระยะแรก แต่ด้วยใจนักสู้ที่ถือเอาความสุจริตใจเป็นที่ตั้งบวกกับสายสัมพันธ์ทางการเงินที่มี “ธนาคารกรุงเทพ” หนุนหลังเต็มที่ ก็ทำให้ณรงค์กล้าก้าวเข้ามาเป็นผู้ผลิตบรั่นดี ด้วยเจตนาที่ยึดถือคุณภาพเป็นจุดแข็งทางการขายและการตลาด
เดิมณรงค์ดื่มเหล้าไม่เป็น แต่ตอนที่รีเจนซี่รุ่นแรกๆ ขายไม่ได้เลย แกเลยกินของแกเอง จนหน้าแดงก่ำ คิดดูสิ กว่าจะติดตลาดนี่ยาก เพราะต้องทำโฆษณาการตลาดต่อเนื่อง แต่ณรงค์แกเป็นคนโฆษณาไม่เป็น พูดแต่ว่าของผมดีๆ แล้วใครจะไปรู้ล่ะ…ผู้ใหญ่ในกรมสรรพสามิตเล่าให้ฟัง ด้วยเหตุนี้ในปี พ.ศ.2534 เขาจึงทุ่มงบโฆษณาวาระครบรอบ 20 ปี ของรีเจนซี่บรั่นดี ทางสื่อมวลชนทุกแขนง เพื่อสร้างภาพพจน์สินค้าที่ผลิตโดยคนไทยเพื่อคนไทย
ณรงค์มีความเป็นคนจีนที่เป็นคนไทยยิ่งกว่าคนไทยบางคนเสียอีก ชีวิตที่ได้รับโอกาสการทำมาหากิน สายสัมพันธ์ธุรกิจกับผู้หลักผู้ใหญ่อาทิ “พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์” อดีตนายกรัฐมนตรีผู้พิศมัยการจิบบรั่นดีและต้องการช่วยเหลือชาวไร่องุ่นที่ประสบปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ ทำให้การขอรับการส่งเสริมโรงงานของเขาในเวลาต่อมาได้รับการสนับสนุนอย่างดีทั้งจากหน่วยราชการและกรมสรรพสามิต
“แกเป็นคนไม่โกงภาษี ถึงไม่มีเงินเพราะขายของไม่ได้ แกก็ไปกู้มาให้” ผู้บริหารในกรมสรรพสามิตเล่าให้ฟังถึงอดีต แต่ปัจจุบันบริษัทได้จ่ายภาษีสรรพสามิตทั้งสิ้นปีละเกือบพันล้านบาท เพราะเหล้าขายดีมีรายได้มหาศาล
การรู้จักใช้ความกตัญญูรู้คุณที่ไปมาหาสู่มิเคยขาดในโอกาสสำคัญๆ เช่นวันเกิด วันขึ้นปีใหม่ ทำให้เขามีวันนี้ได้ เขาไม่เคยลืมบุญคุณใคร ขนาด “พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์” หมดอำนาจไปแล้ว เขาก็ยังไปหาอยู่บ่อยๆ หรือ “สมหมาย ฮุนตระกูล” ซึ่งเคยอนุมัติเพราะเห็นว่าโครงการของเขาดี ณรงค์เห็นว่าเป็นลายมือของท่าน ก็ต้องไปหาทั้งๆที่ท่านไม่รู้ว่าเลยว่าช่วย นี่คือเสน่ห์ของณรงค์ที่ชอบไปหาคนเกษียณอายุแล้วเพื่อป้องกันข้อครหาว่า “ประจบสอพลอผู้ใหญ่”
แต่เหตุการณ์ครั้งหนึ่งที่ทำให้ณรงค์เสียใจมากก็คือ สายสัมพันธ์อันเก่าแก่กับ “คีเซ่งเฮง” ต้องขาดสะบั้นลง คีเซ่งเฮงเป็นเอเยนต์รีเจนซี่ในจังหวัดนครราชสีมามานาน เถ้าแก่คีเซ่งเฮงจะรักและช่วยเหลือณรงค์มากตั้งแต่เริ่มต้นยุคบุกเบิกตลาดมาด้วยกัน จนมียอดขายรีเจนซี่สูงสุดในประเทศ ความนับถือที่ทั้งคู่มีให้กันเสมือนหนึ่งญาติ แต่เมื่อเถ้าแก่คีเซ่งเฮงได้เสียชีวิตลง ความคิดเห็นเรื่องผลประโยชน์เริ่มแตกต่างจากเดิม ยิ่งมีเรื่องบริษัทเรียกเงินค้ำประกันหรือ “แตะเต้ย” เป็นเงิน 7 ล้านบาทเพื่อช่วยด้านขยายกำลังผลิตทางคีเซ่งเฮงได้เป็นหัวเรือใหญ่คัดค้านแม้ได้มีการพูดคุยกันแล้วก็ตาม ในที่สุดคีเซ่งเฮงก็ขอเลิกเป็นเอเยนต์
นั่นเป็นเรื่องที่ณรงค์เสียใจจนถึงทุกวันนี้ และเขามักจะบ่นกับคนใกล้ชิดเสมอว่าเสียดายความสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกัน…
ณรงค์มีบุตรธิดาทั้งสิ้น 5 คนเป็นลูกชายหัวปีท้ายปีคือ ดิเรกและกรีติ์กนิษฐ์ และลูกสาวสามคนคือ ศุภสร พรจันทร์ และศันสนีย์ ซึ่งแต่ละคนก็ล้วนแล้วแต่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศตั้งแต่ยังเล็กที่สิงคโปร์ และจบระดับปริญญาจากสหรัฐอเมริกาโดยมีคุณแม่อย่างสุทธิวรรณตามไปคอยดูแล แม้ในทางนิตินัยเธอยังคงใช้คำนำหน้าชื่อว่า “น.ส.สุทธิวรรณ อัศวปรีชา” จนกระทั่งปัจจุบัน